top of page
รูปภาพนักเขียนTop Trans Trading

ไขความสงสัย OEM ย่อมาจากอะไร และสำคัญอย่างไรต่อการผลิตอาหาร?

เมื่อพูดถึงการเริ่มต้นสร้างแผนหรือการวางแผนสำหรับทำธุรกิจหรือแบรนด์เป็นของตัวเอง  โดยเฉพาะธุรกิจเกี่ยวข้องกับอาหารหรือสินค้าบริโภค สิ่งแรกที่เราแนะนำให้ทำคือการทำความรู้จักกับรูปแบบการผลิตสินค้าก่อนว่าเหมาะสมกับธุรกิจหรือไม่ และในบทความนี้เราจะมาพูดถึงธุรกิจแบบ OEM ซึ่งขึ้นชื่อว่าเป็นหนึ่งในรูปแบบของการทำธุรกิจการผลิตที่เป็นที่นิยมมากที่สุด 


OEM คืออะไร? 


ก่อนที่เราจะพูดถึงประเด็นของการผลิตอาหารหรือโรงงาน OEM อาหาร เราต้องเข้าใจก่อนว่า OEM คืออะไรและสำคัญอย่างไร 


OEM = Origiant Equipment Manufacturer หมายถึงโรงงานที่ทำหน้าที่เป็นผู้รับจ้างผลิตสินค้าให้กับบริษัทที่จะนำไปขายต่อภายใต้แบรนด์ของตนเอง ซึ่งโรงงาน OEM มักจะเป็นฝ่ายที่ช่วยผลิตตั้งแต่ต้นจนจบและเป็นทางเลือกที่ดีที่ช่วยทำให้ผู้จ้างสามารถประหยัดค่าใช้จ่ายในการลงทุนได้เป็นอย่างดี ทั้งยังได้ผลการตอบแทนที่น้อยด้วย


คำถามสำคัญคือ แล้วเราจะทราบได้อย่างไรว่าธุรกิจหรือการบริการในเชิงของการผลิตสินค้าแบบ OEM นั้นจะตอบโจทย์ความต้องการของคุณ ? 


Checklist ธุรกิจที่เหมาะกับการทำ OEM


การทำธุรกิจ OEM (Original Equipment Manufacturer) เป็นทางเลือกที่น่าสนใจสำหรับผู้ประกอบการที่ต้องการเริ่มต้นธุรกิจโดยไม่ต้องลงทุนในสายการผลิตสินค้านั้นๆ ซึ่งการ OEM โดยใช้โรงงาน และผู้ประกอบการจะทำหน้าที่ rebrand และจำหน่ายสินค้าของตนเองเท่านั้น อย่างไรก็ตาม ธุรกิจ OEM ไม่ได้เหมาะกับทุกประเภทสินค้า ต่อไปนี้เป็น checklist ที่จะช่วยคุณประเมินว่าธุรกิจของคุณเหมาะกับการทำ OEM หรือไม่


1. สินค้ามีมาตรฐาน

สินค้า OEM จำเป็นต้องมีมาตรฐานการผลิตที่สูง เพื่อรักษาชื่อเสียงของแบรนด์ของคุณ ตรวจสอบว่าโรงงานผลิตมีใบรับรองมาตรฐานการผลิต เช่น ISO, HACCP และ GHPs ด้วยเสมอ


2. สินค้ามีเอกลักษณ์

แม้จะใช้สินค้าจากโรงงานเดียวกัน แต่คุณสามารถสร้างเอกลักษณ์ให้กับสินค้าของคุณผ่านการออกแบบบรรจุภัณฑ์ การสร้าง branding และการสื่อสารการตลาด

 

3. ตลาดมีขนาดใหญ่

สินค้า OEM เหมาะกับสินค้าที่มีตลาดใหญ่ มีความต้องการสูง ช่วยให้คุณสามารถขายสินค้าได้อย่างต่อเนื่อง


4. มีคู่แข่งน้อย

การเลือกสินค้าที่มีคู่แข่งน้อย ช่วยให้คุณสามารถสร้างจุดยืนในตลาดและเพิ่มโอกาสในการประสบความสำเร็จได้มากขึ้น


5. มีกำไร

คำนวณต้นทุนทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ OEM  รวมถึงต้นทุนผลิตสินค้า ค่าขนส่ง ค่าธรรมเนียมการ rebrand และค่าการตลาด ตรวจสอบให้แน่ใจว่าธุรกิจของคุณจะมีกำไรในการนำมาหมุนเวียนได้


6. มีความเชี่ยวชาญในสินค้า

ควรมีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับสินค้า เพื่อสามารถตอบคำถามลูกค้าและสร้างกลยุทธ์การตลาดได้อย่างมีประสิทธิภาพ


7. มีเครือข่ายการจัดจำหน่าย

ต้องมีช่องทางการจำหน่ายสินค้าไม่ว่าจะเป็นการผ่านตัวแทนจำหน่าย  ร้านค้าออนไลน์  หรือช่องทางอื่นๆ ก็ตาม


8. มีความพร้อมรับความเสี่ยง

ธุรกิจ OEM  นั้นมีความเสี่ยงบางประการที่ต้องใส่ใจ เช่น คุณภาพสินค้า การเปลี่ยนแปลงนโยบายของโรงงานผลิต   และการแข่งขันในตลาด ดังนั้นต้องศึกษาและเลือกแนวทางอย่างละเอียดก่อนเสมอ

 

การทำธุรกิจ OEM เป็นทางเลือกที่น่าสนใจแต่คุณควรประเมินธุรกิจของคุณอย่างรอบคอบอย่างน้อยอาจเริ่มจาก checklist ที่เราได้แนะนำไปข้างต้น เพื่อการตััดสินใจที่ดีและเด็ดขาดมากขึ้น


โรงงาน OEM อาหาร: สร้างมาตรฐานการผลิตอาหารที่ปลอดภัยและคุ้มค่ากับการลงทุน


โรงงาน OEM อาหาร หรือโรงงานที่รับผลิตอาหารภายใต้แบรนด์ต่างๆ เป็นอีกหนึ่งมาตรฐานการผลิตที่การันตีความอร่อยและความสะอาดในราคาที่คุ้มค่ากับการลงทุน โดยเฉพาะโรงงาน OEM อาหารจาก Top Trans Trading 


นอกเหนือจากการรับผลิตเครื่องดื่ม ขนม น้ำซอสหรืออื่นๆ อีกมากมาย การผลิตอาหารภายใต้สูตรที่ผ่านการพัฒนาของทีมผู้เชี่ยวชาญของเราก็เป็นอีกหนึ่งบริการที่ผู้ประกอบการไม่ควรพลาด ด้วยความสามารถและประสบการณ์ที่ยาวนาน ผ่านการผลิตให้แบรนด์ใหญ่ๆ มากมาย ลูกค้าสามารถวางใจให้เราช่วยเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างกำไรได้จากการลงทุนที่คุ้มค่าได้อย่างแน่นอน 


ดู 46 ครั้ง
bottom of page